ข่าว

วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศ

ความขัดแย้งระหว่างประเทศครั้งสำคัญในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 เรื่องสงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามเย็น



สงครามโลกครั้งที่ 2

สงครามโลกครั้งที่สองเป็นความขัดแย้งระหว่างคู่สงคราม คือ ฝ่ายอักษะ ประกอบด้วย เยอรมนี อิตาลีและญี่ปุ่น อีกฝ่ายหนึ่งได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซีย ต่อมาจึงมีประเทศอื่นๆ เข้าร่วม สงคราม ทำให้สงครามขยายไปทั่วโลก

สาเหตุเริ่มต้นของสงคราม 

สนธิสัญญาสันติภาพที่ไม่เป็นธรรม 

ระบุให้ประเทศที่แพ้สงครามโลกครั้งที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหาย ค่าปฏิกรรมสงครามและเสียดินแดน เช่นสนธิสัญญาแวร์ซายส์ เยอรมนี ต้องเสียอาณานิคม ต้องคืนแค้วนอัลซาล – ลอเรนแก่ฝรั่งเศส โปเซนและปรัสเซียตะวันตกให้โปแลนด์ มอรสเนท ยูเพนและมัลเมดีให้เบลเยี่ยม ชเลสวิคและโฮลสไตน์ให้เดนมาร์ก แคว้นซูเดเตนให้เชคโกสโลวาเกีย และ เมเมลให้ลิทัวเนีย จ่ายค่าปฏิกรรมสงคราม ปีละ 5 พันล้านดอลลาร์ ถูกจำกัดกำลังทหารมีทหารได้ไม่เกิน 100,000 คน ห้ามเกณฑ์ทหารเป็นต้น จากเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นการกระตุ้นให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขี้น ฮิตเลอร์และพรรคนาซีได้ปลุกระดมต่อต้านการเสียค่าปฏิกรรมสงคราม และนำความอดยาก ยากจนมาให้ประชาชนอย่างต่อเนื่อง 
ความอ่อนแอของ

 องค์การสันนิบาตชาติ ที่ไม่สามารถบังคับประเทศที่เป็นสมาชิกและไม่ปฏิบัติตามสัตยาบันได้

ความแตกต่างทางด้านการปกครอง

กลุ่มประเทศฟาสซิสต์มีความเข้มแข็งมากขึ้น ได้รวมกันเป็น มหาอำนาจอักษะ (Berlin-Rome-Tokyo Axis ) จุดประสงค์แรก คือเพื่อต่อต้านรัสเซีย ซึ่งเป็นคอมมิวนิสต์ ต่อมาได้ขยายไปสู่การต่อต้านชนชาติยิวและนำไปสู่ความขัดแย้งกับประเทศฝ่ายสัมพันธมิตร

บทบาทของสหรัฐอเมริกา

สหรัฐปิดประเทศโดดเดี่ยว สมัยประธานาธิบดีมอนโร ตามแนวคิดในวาทะมอนโร สหรัฐจะไม่แทรกแซงกิจการประเทศอื่นและไม่ยอมให้ประเทศอื่นมาแทรกแซงกิจการของตนเมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 และรัฐบาลไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ประชาชนจึงเลือกพรรคเดโมแครตเข้ามาเป็นรัฐบาลปกครองประเทศโดยประธานาธิบดี แฟรงคลิน ดี รุสเวลท์ ได้รับเลือกต่อกันถึงสี่สมัย ( ค.ศ.1933 – 1945 )

ชนวนที่นำไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 ฉนวนโปแลนด์(Polish Corridor) มีชาวเยอรมนีอาศัยอยู่มาก เยอรมนีเสียดินแดนส่วนนี้ให้แก่โปแลนด์ตามสนธิสัญญาแวร์ซาย์ และฉนวนโปแลนด์ยังแบ่งแยกดินแดนเยอรมนีเป็นสองส่วน คือส่วนปรัสเซียตะวันตกและปรัสเซียตะวันออก ฮิตเลอร์ ขอสร้างถนนผ่านฉนวนโปแลนด์ไปปรัสเซียตะวันออก อังกฤษและฝรั่งเศสคัดค้าน ฮิตเลอร์จึงยกเลิกสัญญาที่เยอรมนีจะไม่รุกรานโปแลนด์ และทำสัญญาไม่รุกรานกับสหภาพโซเวียต เยอรมนีเริ่มสงครามด้วยการบุกโปแลนด์ 1 กันยายน ค.ศ. 1939 แบบสายฟ้าแลบ (Blitzkrieg)

ฉนวนโปแลนด์
อังกฤษและฝรั่งเศสประกาศเข้าร่วมสงคราม ด้านมหาสมุทรแปซิฟิก ญี่ปุ่นบุกแมนจูเรียในปี ค.ศ.1931 และเสนอแผนการที่จะสถาปนา “วงไพบูลย์แห่งมหาเอเชียบูรพา” เพื่อผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจและด้านอื่นๆ ญี่ปุ่นโจมตีฐานทัพเรือสหรัฐอเมริกาที่ อ่าวเพิร์ล ฮาร์เบอร์ เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941 สหรัฐจึงเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สอง โดยประกาศสงครามเข้าร่วมกับฝ่ายพันธมิตร ขณะเดียวกันญี่ปุ่นเปิดสงครามในตะวันออกเฉียงใต้หรือเรียกว่า “สงครามมหาเอเชียบูรพา”

สงครามโลกในยุโรปสิ้นสุดลงเมื่อกองทัพสัมพันธมิตรบุกเข้าเบอร์ลินในเดือนมิถุนายน ค.ศ.1944 และเมื่อสหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดปรมาณูที่เมืองฮิโรชิมาและเมืองนางาซากิ ในวันที่ 6 และ 9 สิงหาคม ค.ศ.1945 สงครามโลกจึงสิ้นสุดลง

สัมพันธมิตรยกพลขึ้นบกที่ ชายฝั่งแคว้นนอร์มังดี วัน V-E DAY
ผลของสงครามโลกครั้งที่สอง 

เกิดองค์การสหประชาชาติเพื่อดำเนินงานแทนองค์การสันนิบาตชาติ ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อรักษาสันติภาพของโลกและให้กลุ่มสมาชิกร่วมมือช่วยเหลือกัน นับว่ามีความเข้มแข็งกว่าเดิม เพราะสหรัฐอเมริกาเข้าร่วมเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งและมีกองทหารของสหประชาชาติ

ทำให้เกิดสงครามเย็นตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้น ประเทศสหภาพโซเวียต ปกครองโดยสมัยสตาร์ลินมีนโยบายขยายลัทธิคอมมิวนิสต์ไปสู่ ยุโรปตะวันออก และเยอรมนีตะวันออก ซึ่งมีทหารรัสเซียเข้าปลดปล่อยดินแดนเหล่านี้จากอำนาจฮิตเลอร์ในสงครามโลกครั้งที่สอง ขณะที่สหรัฐต้องการสกัดกั้นการขยายตัวดังกล่าว และเผยแผ่การปกครองแบบเสรีประชาธิปไตยในประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะดินแดนอาณานิคมที่ประกาศเอกราช เป็นประเทศใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง จนเกิดสภาวการณ์ที่เรียกว่า สงครามเย็น( Cold War )


สงครามเย็น( Cold War ) 
สงครามเย็นหมายถึง การประจันหน้าด้านอุดมการณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้นำลัทธิเสรีประชาธิปไตยกับสหภาพโซเวียตประเทศ ผู้นำลัทธิคอมมิวนิสต์ เป็นการปะทะกันทุก ๆ วิถีทาง ยกเว้นด้านการทหาร การขยายอำนาจในสงครามเย็นจึงเป็นลักษณะการแสวงหาพรรคพวกร่วมอุดมการณ์และแข่งขันกันเป็นมหาอำนาจทางการเมือง การทหาร และเศรษฐกิจ โดยไม่ทำสงครามกันอย่างเปิดเผย แต่เป็นการสนับสนุนให้ประเทศที่เป็นพวกของแต่ละฝ่ายทำสงครามตัวแทน

สาเหตุของสงครามเย็น 

สหรัฐอเมริกาได้ประกาศวาทะทรูแมน (Trueman Doctrine)ในค.ศ 1947 มีสาระสำคัญว่า ...สหรัฐอเมริกาจะโต้ตอบการคุกคามของประเทศคอมมิวนิสต์ทุกรูปแบบและทุกสถานที่ แล้วแต่สหรัฐจะเห็นสมควร โดยไม่จำกัด ขนาด เวลา และสถานที่ ....จะให้ความช่วยเหลือประเทศต่าง ๆ ให้พ้นจากการคุกคามของลัทธิคอมมิวนิสต์ พร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือแก่กรีซและตุรกีเป็นตัวอย่าง สืบเนื่องมาจากสหภาพโซเวียตเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์ และแทรกแซงให้ความช่วยเหลือกบฎในตุรกีและกรีกเพื่อจัดตั้งรัฐบาลคอมมิวนิสต์ การประกาศวาทะทรูแมนจึงเป็นจุดเริ่มต้นสงครามเย็นที่แท้จริง ต่อมาสหรัฐได้ประกาศแผนการมาร์แชล(Marshall Plan) เพื่อให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจกับยุโรปตะวันตก

ขณะเดียวกันสหภาพโซเวียตได้ตอบโต้ด้วยการจัดตั้ง องค์การโคมินฟอร์ม ( Cominform ) ใน ค.ศ. 1947 เพื่อขยายลัทธิคอมมิวนิสต์สู่ประเทศต่าง ๆ และสัญญาว่าจะให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจแก่ประเทศที่เป็นคอมมิวนิสต์ โดยเฉพาะในยุโรปตะวันออก ต่อมาได้ซึ่งพัฒนามาเป็นองค์การ โคมินเทอร์น (Comintern)

การเผชิญหน้าทางทหาร ใน ค.ศ. 1949 สหรัฐอเมริกาได้จัดตั้งองค์การสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันแห่งแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Treaty Organization ) ประกอบด้วยภาคี 12 ประเทศ คือ อังกฤษ ฝรั่งเศส เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ ลักซัมเบอร์ก สหรัฐอเมริกา แคนาดา เดนมาร์ค ไอซ์แลนด์ อิตาลี นอร์เวย์และเปอร์ตุเกส ต่อมาตุรกีและกรีซ ได้เข้าเป็นสมาชิก และในค.ศ. 1955 เยอรมนีตะวันตกได้เข้าเป็นสมาชิกด้วย

ในค.ศ.1955 สหภาพโซเวียตได้ชักชวนให้ประเทศในยุโรปตะวันออกลงนามในสนธิสัญญาวอร์ซอร์ ( Warsaw Pact)ซึ่งเป็นสนธิสัญญาว่าด้วยความร่วมมือทางทหาร ประเทศภาคี คือ สหภาพโซเวียต เยอรมนีตะวันออก โปแลนด์ ฮังการี รูมาเนีย บัลกาเรียและเชคโกสโลวาเกีย
วิกฤตการณ์เบอร์ลิน(The Berlin Blockade) ค.ศ.1948 

เบอร์ลินถูกแบ่งเป็น 4 ส่วนแบ่งเขตยึดครองคือ ฝรั่งเศส อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ได้ส่วนยึดครองทางเบอร์ลินตะวันตกและเยอรมนีตะวันตก สหภาพโซเวียตได้เบอร์ลินส่วนตะวันตกและเยอรมนีตะวันตก เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองสหภาพโซเวียตได้ประกาศปิดล้อมเบอร์ลินไม่ให้สัมพันธมิตรเข้าออกเบอร์ลินในวันที่ 19 มิถุนายน 1948 ถึง พฤษภาคม 1949 มิให้มีการติดต่อกับภายนอก เพื่อบังคับให้มหาอำนาจตะวันตกละทิ้งเบอร์ลิน โดยปิดเส้นทางคมนาคมทางบก ทางน้ำ ตัดกระแสไฟฟ้าประเทศสัมพันธมิตรและคณะมนตรีความมั่นคงแก้ปัญหาโดยการใช้เครื่องบินบรรทุกเครื่องอุปโภคบริโภคไปโปรยให้ชาวเบอร์ลินตะวันตกเป็นเวลากว่า 1 ปี เหตุการณ์ดังกล่าวนำไปสู่การแบ่งแยก เยอรมันนีเป็น 2 ประเทศและแบ่งเบอร์ลินเป็น 2 ส่วนอย่างถาวร

การแบ่งเขตยึดครองเบอร์ลินของของมหาอำนาจ 4 ประเทศ สร้างกำแพงยาวกว่า 27 ไมล์
กั้นระหว่างเบอร์ลินในค.ศ.1961 เรียกกำแพงเบอร์ลิน
ในค.ศ.1949 เยอรมนีตะวันตกได้ตั้งเป็นประเทศ ชื่อว่า สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันและสหภาพโซเวียตได้ตั้งเขตปกครองของตนในเยอรมนีตะวันออกเป็น สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมัน เมื่อแบ่งประเทศแล้ว ชาวเยอรมนีตะวันออกได้อพยพมาอยู่ในเขตตะวันตกมากขึ้นตลอดเวลา ทำให้รัสเซียต้อง สร้างกำแพงยาวกว่า 27 ไมล์ กั้นระหว่างเบอร์ลินใน ค.ศ.1961 เรียก กำแพงเบอร์ลิน

เครื่องบินสัมพันธมิตรขนส่งอาหารให้กับประชาชนในเบอร์ลินตะวันตก

กำแพงเบอร์ลิน
กำแพงเบอร์ลินสร้างในปี ค.ศ. 1961 แบ่งเบอร์ลินตะวันตกและตะวันออก ออกจากกัน เป็นสัญลักษณ์สำคัญหนึ่งของสงครามเย็น และถูกทำลายไปเมื่อ ค.ศ. 1989 ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1990 โดยมิคาอิล กอบาชอฟ ยินยอมให้เยอรมันทั้งสองตัดสินใจอนาคตตนเอง โดยสหภาพโซเวียตจะไม่เข้าแทรกแซงจึงมีการรวมเยอรมันเป็นประเทศเดียวกันอย่างเป็นทางการ เรียกว่า สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี 

ความขัดแย้งในคริสต์ศตวรรษที่                                                                                                       ความขัดแย้งระหว่างประเทศมหาอำนาจตะวันตกในการแข่งขันแสวงหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการเมือง ประกอบกับการขยายตัวของลัทธิชาตินิยมในยุโรปที่รุนแรงมากขึ้นในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ทำให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งมีผลสืบเนื่องถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามเย็นตามลำดับ

สงครามโลกครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1914 – 1918)
สงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นสงครามที่เกิดขึ้นในยุโรปและขยายเป็นสงครามโลก เนื่องจากมีประเทศในทวีปอื่น เช่น อเมริกาเหนือ และเอเชียเข้าร่วมในสงครามนี้
สาเหตุสงครามโลกครั้งที่ 1 การขยายตัวของลัทธิชาตินิยม การขยายลัทธิจักรวรรดินิยม การพัฒนาระบบพันธมิตรของประเทศยุโรปและการเติบโตของลัทธิทหารนิยม เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1
การขยายตัวของลัทธิชาตินิยม ลัทธิชาตินิยมในยุโรปขยายตัวอย่างรวดเร็วในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะในแหลมบอลข่านที่ต้องการปกครองตนเองและเป็นอิสระจากอำนาจของจักรวรรดิออสเตรีย – ฮังการี และจักรวรรดิออตโตมัน ประเทศที่ส่งเสริมกลุ่มชาตินิยมในแหลมบอลข่าน คือ เซอร์เบีย (Serbia)
การขยายตัวของลัทธิจักรวรรดินิยม การแข่งขันขยายลัทธิจักรวรรดินิยมของมหาอำนาจยุโรปในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศเหล่านั้นจนทำให้มีการแบ่งขั้วอำนาจที่ปรากฏในระบบพันธมิตรของยุโรป
ระบบพันธมิตรของยุโรป ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ปรัสเซีย (Prussia) ได้พัฒนาเป็นจักรวรรดิเยอรมนีและผนึกกำลังชาติพันธมิตรเพื่อโดดเดี่ยวฝรั่งเศสซึ่งเป็นศัตรูและคู่แข่งสำคัญในการขยายลัทธิจักรวรรดินิยม ต่อมาได้เกิดระบบพันธมิตรของยุโรป คือกลุ่มไตรพันธมิตร (Triple Alliance) หรือกลุ่มมหาอำนาจกลาง ประกอบด้วย เยอรมณีและออสเตรีย – ฮังการี และกลุ่มไตรภาคี (Triple Entente) หรือฝ่ายสัมพันธมิตร ประกอบด้วย อังกฤษ ฝรั่งเศสและรัสเซีย การแบ่งขั้วอำนาจในยุโรปทำให้แต่ละประเทศกล้าเผชิญหน้ากันเพราะต่างก็มีพันธมิตรหนุนหลัง
556
การเติบโตของลัทธิทหารนิยม ผู้นำประเทศในยุโรปต่างเชื่อว่าการสร้างจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่จะต้องใช้กำลังทหารสนับสนุนและทำสงครามขยายอำนาจ เช่น ปรัสเซียใช้วิธีการทำสงครามเพื่อขยายดินแดนฝรั่งเศส และเดนมาร์ก ส่วนอิตาลีก็ใช้กำลังสงครามรุกรานอบิสซิเนีย ดังนั้นรัฐบาลต่างๆ จึงให้ความสำคัญกับการพัฒนากองทัพและอาวุธยุทโธปกรณ์ อนึ่ง ความเข้มแข็งทางการทหารและการสนับสนุนจากกองทัพได้ทำให้ประเทศเหล่านั้นยินดีเข้าสู่สงคราม
ชนวนสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปลายเดือนกรกฎาคม ค.ศ 1914 กลุ่มชาตินิยมชาวเซิร์บ (Serb) ซึ่งต้องการปลดแอกจากจักรวรรดิออสเตรีย – ฮังการีได้ลอบสังหารมกุฎราชกุมารฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์ (Archduke Franz Ferdinand) แห่งออสเตรีย ขณะเสด็จเยือนประเทศเซอร์เบีย ออสเตรีย – ฮังการียื่นคำขาดให้เซอร์เบียรับผิดชอบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่เซอร์เบียไม่สามารถจับกุมคนร้ายได้ อีกไม่กี่วันต่อมา ออสเตรีย – ฮังการีซึ่งได้รับการสนับสนุนจากเยอรมนีจึงประกาศสงครามต่อเซอร์เบีย รัสเซียได้เข้าช่วยเซอร์รบ อังกฤษและฝรั่งเศสซึ่งเป็นพันธมิตรของรัสเซียจึงเข้าร่วมรบด้วยเป็นฝ่ายสัมพันธมิตร ในปีต่อมาอิตาลีก็เข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร แม้จะเคยร่วมกลุ่มไตรพันธมิตรกับออสเตรีย-ฮังการีและเยอรมนีมาก่อนก็ตาม ส่วนฝ่ายมหาอำนาจกลางก็มีจักรวรรดิออตโตมันเข้าร่วมกับออสเตรีย-ฮังการีและเยอรมนี ทำให้สงครามขยายไปทั่วยุโรป เอเชียและแปซิฟิก ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1917 เกิดปฏิวัติในประเทศรัสเซีย และมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบโซเวียตภายใต้อุดมการณ์สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ความวุ่นวายทางการเมืองภายในประเทศทำให้รัสเซียถอนตัวจากสงคราม อย่างไรก็ตามสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้ขยายวงออกไปอีก เพราะอีก 2 เดือนต่อมาสหรัฐอเมริกาได้เข้าร่วมกับฝ่ายพันธมิตร สงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติลงในปลาย ค.ศ. 1918 โดยฝ่ายสัมพันธมิตรได้รับชัยชนะ
586
ผลกระทบของสงครามโลกครั้งที่ 1 สงครามโลกครั้งที่ 1 ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างกว้างขวางทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
ด้านการเมือง สงครามทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งสำคัญในยุโรป เพราะทำให้จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีล่มสลาย มีประเทศเกิดใหม่ในยุโรปตะวันออก แถบทะเลบอลติกและแหลมบอลข่าน เช่น ฮังการี เชคโกสโลวาเกีย โรมาเนีย บุลแกเรีย ฟินแลนด์ เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย ฯลฯ พร้อมกันนั้นยังมีความพยายามก่อตั้งองค์การสันนิบาตชาติ (League of Nations) เพื่อป้องกันสงครามและรักษาสันติภาพด้วย
ด้านเศรษฐกิจ สงครามทำให้ประเทศต่างๆ ประสบหายนะทางเศรษฐกิจ และจำเป็นต้องเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างรีบด่วน โดยเฉพาะการผลิตสินค้าส่งออก แต่เนื่องจากประเทศส่วนใหญ่ขาดกำลังซื้อ จึงทำให้สินค้าขายไม่ออกและส่งผลให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำที่ลุกลามไปทั่วโลก
ด้านสังคม สงครามทำให้ผู้คนเสียชีวิตและพิการมากกว่า 8 ล้านคน ประเทศต่างๆ ต้องเร่งฟื้นฟูสังคม นอกจากนี้ยังทำให้ลัทธิชาตินิยมขยายตัวอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่นที่เป็นผู้แพ้สงคราม เช่น เยอรมนีซึ่งต่อมาได้ก่อสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อแก้แค้นฝ่ายสัมพันธมิตร
สงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1939 – 1945)
สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นผลกระทบที่สืบเนื่องจากสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยเยอรมนีเป็นผู้เริ่มสงคราม สงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ขยายสนามรบออกไปนอกยุโรปคือ แอฟริกา เอเชียและแปซิฟิก เป็นสงครามที่มีการประหัตประหารและทำลายล้างกันรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
ในวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1939 เยอรมนีส่งกองทัพบุกโปแลนด์ ดังนั้นอังกฤษและฝรั่งเศสจึงประกาศสงครามต่อเยอรมนี นับเป็นการเริ่มต้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ประกอบด้วยฝ่ายพันธมิตร (Allied Nations) ซึ่งมีอังกฤษ ฝรั่งเศสและสหภาพโซเวียตเป็นแกนนำ และฝ่ายอักษะ (Axis ซึ่งมีเยอรมนีและอิตาลีเป็นแกนนำ ต่อมาญี่ปุ่นได้เข้าร่วมกับฝ่ายอักษะและเริ่มต้นสงครามมหาเอเชียบูรพาด้วยการโจมตีฐานทัพเรือสหรัฐอเมริกาที่อ่าวเพิร์ล (Pearl Harbor) และยึดครองเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941 ทำให้สหรัฐอเมริกาประกาศสงครามต่อญี่ปุ่นและเข้าร่วมสงครามกับฝ่ายพันธมิตร สงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1945 โดยฝ่ายพันธมิตรได้รับชัยชนะ
564
สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่ 2 สามารถวิเคราะห์ได้จากทั้งฝ่ายอักษะและฝ่ายพันธมิตร ดังนี้
ฝ่ายอักษะ ลัทธิจักรวรรดินิยมผสมผสานกับลัทธิชาตินิยมเป็นสาเหตุสำคัญที่ส่งเสริมให้เยอรมนี อิตาลีและญี่ปุ่นทำสงครามขยายอำนาจครอบครองดินแดนโพ้นทะเลและทรัพยากรอันมั่งคั่ง อนึ่ง การที่ประเทศเหล่านี้มีแนวทางที่คล้ายคลึงกันคือ ต่างสนับสนุนลัทธิทหารนิยมและการปกครองแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จ ก็ทำให้สามารถรวมกลุ่มเป็นพันธมิตรกัน รวมทั้งมีความมั่นใจในการก่อสงคราม
ฝ่ายพันธมิตร ปลายทศวรรษ 1930 เยอรมนีขยายอำนาจคุกคามดินแดนใกล้เคียง เช่น การผนวกแคว้นสุเดเตน (Sudeten) ของเชคโกสโลวาเกีย แต่ฝ่ายพันธมิตรกลับดำเนิน “นโยบายเอาใจ” (Appeasement Policy) โดยไม่มีปฏิกิริยาต่อต้าน เนื่องจากยังไม่ต้องการทำสงครามกับเยอรมนี จึงทำให้เยอรมนีได้ใจและบุกโปแลนด์ต่อไป จนนำไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 2
ผลกระทบของสงครามโลกครั้งที่ 2 สงครามโลกครั้งที่ 2 ขยายพื้นที่สงครามครอบคลุมทวีป ทำให้เกิดผลกระทบมากกว่าสงครามโลกครั้งที่ 1 ทุกด้าน
ด้านการเมือง สงครามโลกครั้งที่ 2 ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของโลกที่สำคัญคือ ดินแดนอาณานิคมได้รับเอกราช มีประเทศเกิดใหม่ในเอเชียและแอฟริกาจำนวนมาก อำนาจของยุโรปเสื่อมลงจึงต้องผนึกกำลังเป็นสหภาพยุโรป (European Union) ในปัจจุบัน สหรัฐอเมริกาซึ่งช่วยกอบกู้สถานการณ์สงครามและนำชัยชนะให้กับฝ่ายพันธมิตรได้ขึ้นมาเป็นผู้นำโลก สหรัฐอเมริกาเข้าไปจัดระเบียบโลก และสร้างกฎเกณฑ์ต่างๆ ขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเฉพาะการนำประชาคมโลกเข้าสู่ยุคสงครามเย็นที่ส่งผลต่อชะตากรรมของมนุษยชาติในโลกปัจจุบัน
ด้านเศรษฐกิจ ความเสียหายทางเศรษฐกิจจากสงครามโลกครั้งที่ 2 มีมูลค่าที่ไม่อาจประเมินได้ ประเทศส่วนใหญ่ซึ่งรวมทั้งประเทศในยุโรปต้องเผชิญปัญหาเศรษฐกิจนานนับ 10 ปีจึงฟื้นตัวได้ ทำให้มีการก่อตั้งองค์การทางการเงินระหว่างประเทศเพื่อช่วยบูรณะฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ เช่น ธนาคารโลก และ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ (International MonetaryFund = IMF)
ด้านสังคม สงครามโลกครั้งที่ 2 ทำลายล้างชีวิตผู้คนจำนวนมหาศาล มีผู้บาดเจ็บล้มตายในสงครามโลกครั้งที่ 2 มากกว่า 20 ล้านคน ทั้งยังทำให้เกิดการพลัดพรากในครอบครัว อนึ่ง สงครามโลกครั้งที่นี้ยังส่งผลกระทบต่อจริยธรรมและศีลธรรมของผู้คนในสังคมอย่างมาก เนื่องจากการมีการประหัตประหารกันอย่างโหดร้ายทารุณ และการใช้อาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างรุนแรงต่อมนุษยชาติ เช่น การที่สหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดปรมาณูญี่ปุ่นที่เมืองฮิโรชิมา (Hiroshima) วันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1945 และที่เมืองนางาซากิ (Nagasaki) ในอีก 3 วันต่อมา ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตทันทีมากกว่า 1 แสนคน055
สภาพเมืองฮิโรชิมา หลังจากสหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดปรมาณู
056
อนุภาคของระเบิดปรมาณูที่เมืองนางาซากิ ประเทศญี่ปุ่น
สงครามเย็น
สงครามเย็น (Cold War) เป็นศัพท์ใหม่ที่เกิดขึ้นระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 หมายถึง ภาวะตึงเครียดระหว่างกลุ่มประเทศ 2 กลุ่ม ซึ่งต่างฝ่ายต่างก็ใช้วิธีการต่างๆ ในการต่อสู้ ยกเว้นการเผชิญหน้า จึงหวั่นเกรงกันว่าความตึงเครียดในสงครามเย็นอาจจะนำไปสู่ภาวะสงครามร้อนได้ และกลายเป็นสงครามโลกอีกครั้งหนึ่ง
ความขัดแย้งในสงครามเย็นปรากฏเด่นชัดใน ค.ศ. 1947 เมื่อประธานาธิบดีแฮร์รี ทรูแมน (Harry S. Truman) แห่งสหรัฐอเมริกาประกาศหลักการทรูแมน (Truman Doctrine) ซึ่งเป็นการประกาศต่อต้านการแทรกแซงใดๆ ต่อรัฐบาลที่ชอบธรรมในประเทศต่างๆ โดยเฉพาะยุโรปตะวันออก กรีซ ตุรกีและอิหร่านซึ่งกำลังเกิดความวุ่นวายภายในประเทศ เนื่องจากกลุ่มต่างๆ ที่ได้รับการสนับสนุนจากพรรคคอมมิวนิสต์ทำการจลาจลต่อต้านรัฐบาลของตน
058
สาเหตุของสงครามเย็น สงครามเย็นมีรากฐานมาจากความขัดแย้งระหว่างกลุ่มประเทศเสรีนิยมที่นำโดยสหรัฐอเมริกาและประเทศยุโรปตะวันตกกับสหภาพโซเวียต ซึ่งเป็นผู้นำของกลุ่มสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ความขัดแย้งของชาติมหาอำนาจดังกล่าวเกิดขึ้นมาตั้งแต่อดีตและขยายเป็นสงครามเย็นในสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเฉพาะเมื่อพรรคคอมมิวนิสต์ในประเทศต่างๆ เติบโตและส่งผลให้โลกถูกแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายโลกเสรีกับฝ่ายสังคมนิยมคอมมิวนิสต์
วิกฤตการณ์ในสงครามเย็น หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เกิดวิกฤตต่างๆ อันเนื่องมาจากความขัดแย้งและการเผชิญหน้าระหว่างฝ่ายโลกเสรีกับฝ่ายสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ซึ่งสร้างความตึงเครียดและหวาดวิตกต่อประชาคมโลก ด้วยเกรงว่าเหตุวิกฤตนั้นจะนำไปสู่สงครามโลกครั้งใหม่ วิกฤตในสงครามเย็นที่สำคัญ เช่น
การปิดล้อมกรุงเบอร์ลิน ค.ศ. 1948 – 1949 เป็นการปิดล้อมเบอร์ลินตะวันตกโดยฝ่ายเยอรมนีตะวันออกเพื่อกดดันเยอรมนีตะวันตก
การจัดตั้งองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือองค์การนาโต (North Atlantic Treaty Organization = NATO) ค.ศ. 1949 เป็นการรวมกลุ่มทางทหารนำโดยสหรัฐอเมริกาและกลุ่มพันธมิตรในเขตมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ
106230969
สงครามเกาหลี ค.ศ. 1950 – 1953 เป็นสงครามระหว่างเกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้ซึ่งมีสหรัฐอเมริกาและกำลังอาสาสมัครของประเทศสมาชิกสหประชาติเข้าไปช่วยทำสงครามในเกาหลีใต้
korea15การรวมกลุ่มกติกาสนธิสัญญาวอร์ซอ (Warsaw Pact) ค.ศ. 1955 เป็นการรวมกลุ่มทางทหารระหว่างสหภาพโซเวียตและประเทศสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออกเพื่อตอบโต้องค์การนาโต
สงครามเวียดนาม ค.ศ. 1960 – 1975 เป็นสงครามระหว่างเวียดนามเหนือกับเวียดนามใต้ที่สหรัฐอเมริกาส่งทหารเข้าไปรบกับพวกคอมมิวนิสต์เวียดนามซึ่งยึดเวียดนามเหนือ
105244วิกฤตการณ์ขีปนาวุธที่คิวบา ค.ศ. 1962 เป็นเหตุการณ์ที่สหภาพโซเวียตพยายามนำขีปนาวุธไปติดตั้งที่คิวบาซึ่งเป็นประเทศสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ในลาตินอเมริกา สหรัฐอเมริกาถือว่าเป็นการคุกคามต่อสหรัฐอเมริกาและทวีปอเมริกาโดยตรง จึงประกาศจะตอบโต้อย่างรุนแรง โซเวียตจึงยินยอมถอนขีปนาวุธกลับไป เพราะไม่ต้องการทำสงครามนิวเคลียร์กับสหรัฐอเมริกา
การผ่อนคลายและการสิ้นสุดขอสงครามเย็น การผ่อนคลายของสงครามเย็น (Detente) เริ่มตั้งแต่ทศวรรษ 1970 เมื่อกลุ่มประเทศประชาธิปไตยและสังคมนิยมคอมมิวนิสต์เริ่มหันหน้าเข้าหากัน เพื่อผ่อนคลายภาวะตึงเครียดของสงครามเย็นเนื่องจากต่างตระหนักว่า ไม่อาจปล่อยให้เกิดการเผชิญหน้าระหว่างชาติมหาอำนาจรุนแรงเพิ่มมากขึ้นต่อไป เพราะจะนำไปสู่จุดแตกหักที่ส่งผลต่อสันติภาพของโลกได้ เหตุการณ์สำคัญที่นำไปสู่การผ่อนคลายและการสิ้นสุดของสงครามเย็นได้แก่
การปรับความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกากีบจีนคอมมิวนิสต์ ค.ศ. 1972 โดยประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสัน (Richard Nixon) ของสหรัฐอเมริกา เดินทางไปเยือนปักกิ่ง ส่งผลให้สหรัฐอเมริกาค่อยๆ ถอนทหารออกจากเวียดนาม และทำให้สงครามเวียดนามยุติลง
53ประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน ของสหรัฐอเมริกาเดินทางไปเยือน
และเข้าพบ เหมา เจ๋อตง ประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีน ค.ศ. 1972
การประชุมสุดยอดเบรซเนฟ – นิกสัน (Brezhnev’ – Nixon Summit 1972) ระหว่างนายกรัฐมนตรีเบรซเนฟของสหภาพโซเวียตและประธานาธิบดีนิกสันส่งผลให้มีการลงนามในสนธิสัญญาจำกัดอาวุธทางยุทธศาสตร์ 2 ครั้ง (Strategic Arms Limitation Talks = SALT) ใน ค.ศ. 1972 และค.ศ. 1979
นโยบายเปเรสทอยกาและกลาสนอส (Perestoika – Glasnos ค.ศ. 1985) เริ่มในสมัยของนายกรัฐมนตรีกอร์บาชอพ (Gorbachev) แห่งสหภาพโซเวียต ซึ่งประกาศปฏิรูปประเทศตามแนวทางประชาธิปไตยและเปิดกว้างทางเศรษฐกิจ เป็นผลให้มีการผ่อนคลายความเข้มงวดของระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์โซเวียต ทำให้ประเทศในยุโรปตะวันออกมีอิสระในการกำหนดระบอบปกครองของตนเอง ซึ่งส่วนใหญ่เลือกวิถีทางเสรีประชาธิปไตย
การทำลายกำแพงเบอร์ลินและการรวมเยอรมนี ค.ศ. 1989 เยอรมนีตะวันตกและเยอรมนีตะวันออกได้รวมประเทศทำให้การเผชิญหน้าอันยาวนานระหว่างยุโรปตะวันตกและยุโรปตะวันออกยุติลง
ระบอบสหภาพโซเวียตล่มสลาย ค.ศ. 1991 ถือว่าเป็นการยุติสงครามเย็นที่ยาวนานและตึงเครียดหลังจากนั้นรัฐต่างๆ ที่เคยอยู่ภายใต้ระบอบสหภาพโซเวียตก็แยกเป็นรัฐอิสระ ส่วนศูนย์กลางการปกครองสหภาพโซเวียตเดิมก็คือประเทศรัสเซียในปัจจุบัน
เหตุการณ์ความขัดแย้งของมนุษยชาติในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ที่กล่าวมาข้างต้น มีความรุนแรงก่อให้เกิดความสูญเสียอย่างมหาศาลต่อประชาคมโลก ทั้งยังมีผลกระทบสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน เหตุการณ์เหล่านี้เป็นบทเรียนจากประวัติศาสตร์ที่ควรแก่การศึกษาและเผยแพร่เพื่อให้ผู้เรียนได้ตระหนักถึงผลที่เกิดขึ้นต่อสังคมและมนุษยชาติในปัจจุบัน

          อาเซียน เป็นเวทีความร่วมมือในการสร้าสันติภาพและความมั่นคงให้เกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลังสงครามเย็นอาเซียนได้หันมาเน้นความร่วมมือทางเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งการเป็นประชาคมอาเซียนมีความใกล้ชิดกันมากขึ้น ทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรม ซึ่งความเข้มแข็งของอาเซียน ทำให้กลายเป็นองค์กรระหว่างประเทศองค์กรหนึ่งที่นับทวีบทบาทและความสำคัญต่อโลกมากยิ่งขึ้น
ความสำคัญของอาเซียนในเวทีโลก
          อาเซียนเป็นกลุ่มประเทศที่มีความสำคัญ จากการที่ประชากรรวมกันแล้วเกือบ 600 ล้านคน ซึ่งเป็นทั้งตลาดที่มีกำลังสูง มีแนวโน้มขยายตัวได้มาก และเป็นตลาดแรงงานราคาถูกซึ่งนักลงทุนต่างชาติโดยเฉพาะญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาเข้ามาลงทุนนานแล้ว ดังนั้นกล่าวโดยสรุปอาเซียนมีความสำคัญในเวทีโลก ดังนี้
          ความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจ อาเซียนเป็นแหล่งเกษตรกรรมที่สำคัญของโลก โดยมีการผลิตอาหารและสินค้าเกษตรจำนวนมาก เช่น ข้าวหอมมะลิ น้ำมันปาล์ม มะพร้าว เป็นต้น และยังเป็นแหล่งทรัพยากรที่สำคัญ โดยเฉพาะทรัพยากรเชื้อเพลิงซึ่งมีมากในประเทศบรูไนและมาเลเซีย ส่งผลให้ประเทศมีฐานะทางเศรษฐกิจดี และไม่ได้รับผลกระทบจากการขึ้นราคาน้ำมันของโลกมากนัก ในพม่ามีแหล่งน้ำมันและแก็สธรรมชาติจำนวนมาก ซึ่งหลายประเทศ เช่น จีน อังกฤษ ไทย รวมถึงสหรัฐอเมริกา ได้เข้าไปลงทุนโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกานั้นพยายามลงทุนในพม่าเพิ่มมากขึ้น แม้ในอดีตสหรัฐอเมริกาและอังกฤษได้คว่ำบาตรทหารพม่า แต่เพราะผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจมหาศาล ทำให้สหรัฐอเมริกาไม่ใช้ข้ออ้างด้านการเมืองในการคว่ำบาตรพม่าอีก พม่าจึงเป็นประเทศในอาเซียนที่กำลังได้รับความสนใจจากภายนอก และเปิดรับการลงทุนจากภายนอก
          นอกจากนี้อาเซียนยังมีประเทศสิงคโปร์ที่มีเศรษฐกิจที่มั่นคง และเป็นศูนย์กลางทางการเงินการลงทุนของภูมิภาค มีประเทศที่มีแรงงานมีคุณภาพ ค่าแรงไม่สูง เช่น ไทย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ มีประเทศอินโดนีเซียเป็นประเทศมุสลิมที่ใหญ่ที่สุดของโลก และมีความใกล้ชิดกับประทศมุสลิมอื่นๆ ในโลก ซึ่งเป็นผลดีต่อการขยายตลาดของอาเซียนในประเทศมุสลิมทั่วโลก
          ความสำคัญทางการเมือง อาเซียนมีบทบาทด้านการเมืองในระดับโลก ในการสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อสร้างสันติภาพของสหภาพของสหประชาชาติ เช่น การเข้าร่วมกับกองกำลังสหประชาชาติในปฏิบัติการต่างๆ การให้ความร่วมมือช่วยเหลือผู้อพยพจากการขัดแย้งทางการเมือง เช่น ในสงครามเวียดนาม ในสงครามการเมืองกัมพูชา ผู้อพยพที่เป็นชนกลุ่มน้อยในพม่า เป็นต้น
บทบาทของอาเซียนในเวทีเศรษฐกิจโลก
          ในปัจจุบันอาเซียนเป็นกลุ่มประเทศที่มีความโดดเด่นทางด้านการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ทั้งการเป็นตลาดขนานใหญ่ที่เป็นทั้งแหล่งผลิตสินค้าของนักลงทุนภายในและภายนอกภูมิภาค และเป็นตลาดที่มีกำลังซื้อสูง
          เหตุการณ์ที่สะท้อนความสำคัญของเศรษฐกิจอาเซียนต่อเศรษฐกิจโลก คือ เหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ในปลาย พ.ศ. 2554 ในภาคกลางของประเทศไทย ทำให้น้ำท่วมนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีโรงงานนักลงทุนต่างชาติจำนวนมาก ทำให้การผลิตสินค้าหยุดชะงัก กระทบถึงสินค้าในตลาดโลก เช่น โรงงานผลิตรถยนต์ในไทยถูกน้ำท่วมส่งผลให้ไม่มีรถยนต์เพียงพอต่อยอดสั่งจองทั้งในยุโรปและสหรัฐอเมริกา โรงงานผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าถูกน้ำท่วม ทำให้ไม่มีชิ้นส่วนส่งโรงงานในประเทศฟิลิปปินส์ จนทำให้โรงงานฟิลิปปินส์ต้องปิดชั่วคราว คนงานชาวฟิลิปปินส์ในโรงงานหลายแห่งไม่มีงานทำ และไม่มีสินค้าส่งขายไปยังประเทศอื่นๆ ส่งผลให้สินค้าขาดตลาด
          ในปัจจุบันอาเซียนมีบทบาทสำคัญในเวทีโลก โดยได้ดำเนินการเสริมสร้างความร่วมมือกับประเทศสมาชิก และกลุ่มประเทศนอกประเทศอาเซียน ดังนี้
การสร้างความร่วมมือในประเทศสมาชิกอาเซียน
          บทบาทของอาเซียนที่โดดเด่นในเวทีการค้าโลก คือ การเสริมสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจในหมู่ประเทศสมาชิกอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายหลัก คือ เพื่อให้เกิดการรวมเป็นตลาดเดียวกัน โดยการเริ่มก่อตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนหรืออาฟตา เมื่อ พ.ศ. 2535 ซึงมีส่วนช่วยพัฒนาเศรษฐกิจและอำนาจต่อรองของอาเซียน แต่อาเซียนมีเป้าหมายสูงสุด คือ การเป็นประชาคมเศรษฐกิจ ทางการเงิน และการคลัง ซึ่งจะนำไปสู่การเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ เพื่อรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจภายในอาเซียน และสร้างความเข้มแข็งแก่อาเซียนในเวทีเศรษฐกิจโลก
          นอกจาการตั้งอาฟตาแล้ว อาเซียนได้ร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศกลุ่มน้ำโขง คือ จีน พม่า เวียดนาม ลาว กัมพูชา และไทย โดยรณรงค์ระหว่าง พ.ศ. 2543-2553 เป็นทศวรรษแห่งความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศลุ่มน้ำโขง เพื่อยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน และเพื่อสนับสนุนการรวมตัวทางเศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้ ให้สอดคล้องกับตลาดอาเซียน
          การค้าในเส้นทางแม่น้ำโขงในปัจจุบันขยายตัวอย่างรวดเร็ว และมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง สินค้าราคาถูกจากจีนทั้งสินค้าเกษตรและสินค้าจากโรงงานอุตสาหกรรมถูกนำเข้ามาขายในอาเซียนจำนวนมหาศาล ส่วนสินค้าจากอาเซียน เช่น ข้าว ผลไม้ท้องถิ่นโดยเฉพาะทุเรียน ลำไย เงาะ และผลไม้แปรรูปทั้งแบบแห้งและกระป๋องและถูกนำส่งไปส่งจำหน่ายในจีน
          อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการขยายตัวทางการค้าในกลุ่มแม่น้ำโขง คือ ปัญหาลักลอบค้ายาเสพติด สินค้าหนีภาษี และปัญหาอาชญากรรมจากความขัดแย้งของผู้มีอิทธิพล หรือพ่อค้าสิ่งเสพติด ซึ่งในระยะแรกที่การค้าขยายตัว ทางการจีนและอาเซียนยังไม่ค่อยให้ความสำคัญต่อการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมเหล่านี้ แต่ปัจจุบันประเทศลุ่มแม่น้ำโขงได้เพิ่มมาตรการการรักษาความปลอดภัยในเส้นทางเดินเรือ การปราบปรามสิ่งเสพติดและสินค้าเถื่อนเพื่อทำให้การค้าในเส้นทางนั้นปลอดภัยและถูกกฎหมาย
          การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะเพิ่มบทบาทด้านเศรษฐกิจของอาเซียนในเวทีเศรษฐกิจโลก เพราะจะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและต่อรองในเวทีการค้าโลก ขยายเศรษฐกิจของอาเซียน เพราะอาเซียนมีตลาดขนาดใหญ่ มีกำลังซื้อสูง ซึ่งทำให้เศรษฐกิจและนักลงทุนจากภายนอกภูมิภาคสนใจเข้ามาทำการค้าลงทุนกับอาเซียนมากขึ้น
การสร้างความร่วมมือกับประเทศหรือกลุ่มประเทศนอกอาเซียน
          อาเซียนมีการร่วมมือทางเศรษฐกิจกับภายนอกกลุ่มมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อขยายการเชื่อมโยงกับประเทศหรือกลุ่มประเทศนอกอาเซียน เช่น
          ความร่วมมืออาเซียน+3 (ASEAN plus three) คือ ความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ ร่วมกับ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้
          ความร่วมมืออาเซียน+6 (เพิ่มอีก 3 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย) ซึ่งจะส่งผลให้มีขนาดผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) ใหญ่เป็น 1 ใน 4 ของโลก มีจำนวนประชากรมากเป็นครึ่งหนึ่งของโลก
          ความสัมพันธ์ในลักษณะของประเทศคู่เจรจากับอีก 9 ประเทศ คือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย อินเดีย และรัสเซีย และมีความสำคัญร่วมมือกับกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป
          การร่วมมือทางการค้ากับประเทศนอกกลุ่มอาเซียน จะทำให้เศรษฐกิจของอาเซียนมีความแข็งแกร่ง เมื่อเปรียบเทียบกับเศรษฐกิจโลก ดังนี้
          อาเซียน สมาชิก 10 ประเทศ ประชากร 583 ล้านคน ( 9 % ของประชากรโลก )
          GDP 1,275 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ( 2 % ของ GDP โลก)
          ASEAN+3 ประชากร 2,068 ล้านคน ( 31 % ของประชากรโลก )
          GDP 9,901 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ( 18 % ของ GDP โลก)
          ASEAN+6 ประชากร 3,284 ล้านคน ( 50 % ของประชากรโลก )
          GDP 12,250 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ( 22 % ของ GDP โลก )
ที่มา: กรมเจรจาระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
          ทั้งนี้อาเซียนส่งเสริมให้มีความร่วมมือทางการค้าเสรี และเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจกับประเทศคู่สำคัญ และพัฒนาร่วมมือกับเขตเศรษฐกิจอื่นๆ นอกภูมิภาคในระดับที่กว้างขวางมากขึ้น เช่น การร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิก (APEF) เขตเศรษฐกิจระหว่างออสเตรเลียนิวซีแลนด์ และกลุ่มประเทศลาตินอเมริกา นอกจากนี้ได้ยังมีการเจรจากับสหภาพยุโรปเรื่องการเปิดสัญญาการค้าเสรีประเทศสมาชิกอาเซียน 7 ประเทศ (ยกเว้น กัมพูชา ลาว และพม่า) เป็นต้น
          ดังนั้น หากการรวมกลุ่มภายในอาเซียนมีความเข้มแข็ง จะทำให้อาเซียนมีความพร้อมที่จะขยายการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในระดับกว้างขวางขึ้น และเป็นศูนย์กลางของการร่วมกลุ่มในภูมิภาคนี้ได้ในที่สุด
          การรวมกลุ่มประเทศยังเป็นผลดีต่อประเทศหรือประเทศในระยะยาว เพราะจะทำให้ไม่โดดเดี่ยวในยุคการค้าเสรี

วันเสาร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2558


       พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ทวีปอเมริกาใต้

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ทวีปอเมริกาใต้

ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์

            การตั้งถิ่นฐานของชนพื้นเมืองก่อนที่ชาวยุโรปจะเข้ายึดครอง เชื่อกันว่าชาวอินเดียนแดงได้อพยพมาจากทวีปเอเชีย 
            โดยเดินทางข้ามช่องแคบเบริ่ง เร่ร่อนจากทวีปอเมริกาเหนือลงสู่ ทวีปอเมริกาใต้ และมาตั้งหลักแหล่งอย่างมั่นคงบริเวณเทือกเขาแอนดีส 
            มีหลักฐานที่เด่นชัดคือซากเมือง มาชู ปิกชู Machu Piachu ของอาณาจักรอินคา บริเวณประเทศเปรู 
            นับตั้งแต่เริ่มมีการตั้งถิ่นฐานยุคแรกเมื่อ 20,000 ปีที่ผ่านมา มนุษย์ดำรงชีพด้วยการเก็บเกี่ยวจากธรรมชาติ ล่าสัตว์ เก็บของป่ากิน 
            จนถึงยุคการปลูกพืชพรรณและเลี้ยงสัตว์ กลายเป็นการวางรากฐานด้านเกษตรกรรมอย่างเป็นระบบ 
            รวมทั้งการก่อตั้งหมุ่บ้านและสถานที่ประกอบพิธีกรรมต่างๆ ตามความเชื่อของมนุษย์ในสมัยนั้น 
            เมื่อ 8,000 ปีก่อนคริสตศักราช ดินแดนอันกว้างใหญ่ของทวีปอเมริกาใต้ สามารถเพาะปลูกพืชได้หลายชนิด ตามลักษณะภูมิอากาศ เช่น มันฝรั่ง ฮอลลูโก กวีนัว กีวีชา ฟักทอง ฝ้ายพริก ข้าวโพด ฯลฯ
            ในยุคเปรูโบราณ ลามา อัลปาก้า และวิกูญา เป็นสัญลักษณ์ของความสมบูรณ์ สัตว์เหล่านี้ให้เส้นใยสำหรับเสื้อผ้าอันอบอุ่น เนื้อสัตว์สำหรับประกอบอาหาร หนังและกระดูกสำหรับทำเครื่องมือต่าง ๆ หยดน้ำมันสำหรับให้ความร้อนและพลังงาน และทำให้ผู้คนขนส่งสินค้าไปในระยะไกล ๆ ได้ 
            เมื่อ 7,000 ปีก่อนคริสตศักราช สัตว์เหล่านี้ทำให้คนสามารถอยู่อาศัยในพื้นที่เปราะบางที่สุดของเทือกเขาแอนดีส ซึ่งอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลกว่า 4,200 เมตร 
            ที่ซึ่งยากแก่การทำสวนไร่นาและชีวิตความเป็นอยู่ขึ้นกับการเคลื่อนที่ไปมา ทำให้เข้าถึงระบบนิเวศวิทยาที่หลากหลาย พร้อมทั้งแหล่งทรัพยากรทางเศรษฐศาสตร์ที่เติมให้สมบูรณ์ 
            ขณะที่วัฒนธรรมภาคพื้นค่อยๆ รวมตัวเข้าด้วยกัน เทคนิคใหม่ๆ ก็เกิดขึ้นมา เช่น การทอเส้นใย การทำโลหะผสมและการทำอัญมณี ทำให้วัฒนธรรมระดับสูงเกิดขึ้น เช่น
ชาแวง ( 1,000 ปีก่อนคริสตศักราช ) ,
พารากัส ( 700 ปีก่อนคริสตศักราช ) ,
โมช ( 100 ปีหลังคริสตศักราช ),
นาซก้า ( 300 ปีหลังคริสตศักราช ),
วารี ( 600 ปีหลังคริสศักราช ),
ชิมู ( 700 ปีหลังคริสตศักราช ),
ชาชาโปยาส ( 800 ปีหลังคริสตศักราช )
และอาณาจักรอินคา 1,500 ปีหลังคริสตศักราช
            ชาวอินคาบูชาเทพเจ้าแห่งผืนดินปาชามามาและเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์อินติ อำนาจอธิปไตยของชาวอินคาคือ ผู้นำสูงสุดของทาวันทินซูยู (อาณาจักรอินคา) เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์และเป็นสิ่งซึ่งได้รับตกทอดมาจากอินติ 

            ในยุคที่เฟื่องฟูสูงสุดชาวอินคาได้สร้างงานทางสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมที่น่าประทับใจ ตัวอย่างที่สำคัญที่สุดที่สามารถพบเห็นได้ในปัจจุบันนี้คือซากเมืองคุชโก เมืองหลวงของอาณาจักรอินคาแห่งนี้และพื้นที่รอบ ๆ เช่น ป้อมซัคเซย์วาแมน และป้อมมาชูปิกชู
            เมื่อคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส Christopher Columbus ชาวอิตาเลียน เดินทางสำรวจพบทวีปอเมริกา ใน ค.ศ. 1492 แล้ว ชาวยุโรปก็สนใจที่จะแล่นเรือมาทางทิศตะวันตกเพิ่มมากขึ้น 
            ในปี ค.ศ. 1499 นักเดินเรือชาวอิตาลียน ชื่อ อเมริโก เวสปุกชี Americo Vespucci เดินทางสำรวจให้กับสเปน ได้แล่นเรือสำรวจชายฝั่งประเทศเวเนสุเอลา ทะเลสาบมาราไคโบ 
            พบเห็นบ้านเรือนของชนพื้นเมืองก่อตั้งอยู่ริมน้ำ คล้ายหมู่บ้านของชาวเวนิส จึงเรียกดินแดนที่เขาพบนี้ว่า เวเนสุเอลา ซึ่งหมายถึง เวนิสน้อย 

            ในปี ค.ศ. 1500 นักเดินเรือชาวโปรตุเกส ชื่อ เปโดร อัลวาเรส คาบรัล Pedro Alvares Cabral ได้แล่นเรือสำรวจชายฝั่งทางด้านตะวันออกของประเทศบราซิล 
            หลังจากนั้นชาวโปรตุเกสก็เข้ายึดครองทางด้านตะวันออกของทวีป ส่วนสเปนก็เข้าสำรวจทางด้านตะวันตกจากภาคเหนือสู่ภาคใต้ ซึ่งในที่สุดได้นำไปสู่การก่อตั้งอาณานิคมของชาวสเปนหลายแห่ง

            เริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 1492 โคลัมบัสได้รับการแต่งตั้งจาก พระนางเจ้าอีสเบลลา แห่งสเปน ให้เป็นผู้สำเร็จราชการครอบครองหมู่เกาะอินดิสตะวันตก
ค.ศ. 1519 เฮอร์นาน คอร์เตส Hernan Cortes ได้พิชิตอาณาจักรแอชเต็ก ในเม็กซิโก
            ค.ศ. 1531 ฟรานซีสโก ปิซาโร Francisco Pizarro เข้าสำรวจพบอาณาจักรอินคา และทำสงครามกับชาวอินคา นาน 5 ปีสามารถปราบอาณาจักรอินคาได้
            ค.ศ. 1541 เปโดร เดอ วัลดิเวีย Pedro de Valdivia นำทหารสเปนเข้าครอบครอง ดินแดนชิลีได้สำเร็จ

            ดินแดนส่วนใหญ่ในทวีปอเมริกาใต้ตกเป็นอาณานิคมของสเปนและโปรตุเกส ยกเว้น 
กายอานาและฟอร์กแลนด์ เป็นของสหราชอาณาจักร
เฟรนซ์กิอานา เป็นของฝรั่งเศส
สุรินาเม เป็นของเนเธอร์แลนด์

การประกาศเอกราชของประเทศต่าง ๆ ในทวีปอเมริกาใต้

            ด้วยเหตุที่อาณานิคมในทวีปอเมริกาเหนือได้ประกาศเอกราช ตั้งเป็นประเทศสหรัฐอเมริกา และแคนาดา 
            จึงเป็นตัวอย่างที่ชาวอาณานิคมในทวีปอเมริกาใต้ต้องการเอกราช โดยเริ่มจากชาวอาณานิคมในเมืองคารากัส ได้ก่อการกบฏขึ้นในปี ค.ศ. 1810 ขับไล่แม่ทัพของสเปน ออกไป และตั้งคณะกรรมการขึ้นปกครองตนเอง 
            โดยมีผู้นำในอาณานิคมหลายคน ที่ต้องการปลดปล่อยอาณานิคมในทวีปอเมริกาใต้ให้เป็นอิสระ เช่น
            ในปี ค.ศ. 1818 โฮเซ เดอ ซาน มาร์ติน Jose de San Martin เป็นผู้นำในการปลดปล่อย ในอาร์เจนตินาและชิลี ให้เป็นเอกราช
            ในปี ค.ศ. 1821 ซิมอน โบลิวาร์ Simon Bolivar เป็นผู้นำในการปลดปล่อย เอกวาดอร์ และเวเนสุเอลา ได้สำเร็จ
            ในปี ค.ศ. 1822 โอรสของกษัตริย์แห่งโปรตุเกส ก็ประกาศบราซิลให้เป็นเอกราช โดยมีพระองค์เป็นปฐมกษัตริย์ ค.ศ. 1889 ทหารเข้ายึดอำนาจล้มระบอบกษัตริย์เปลี่ยนเป็นสาธารณรัฐ

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ทวีปยุโรป

ทวีปยุโรป

            ทวีปยุโรป เป็นทวีปที่อยู่บนผืนแผ่นดินเดียวกับทวีปเอเชีย มีลักษณะคล้ายกับเป็นคาบสมุทรใหญ่ของทวีปเอเชีย 
            จึงมีผู้เรียกทวีปยุโรป และเอเชียรวมกันว่า “ยูเรเซีย” พรมแดนธรรมชาติที่ใช้เป็นแนวแบ่งทวีปยุโรปกับทวีเอเชียออกจากกัน คือ แนว เทือกเขาอูราลและแม่น้ำอูราล

ที่ตั้ง

            ทวีปยุโรปตั้งอยู่ระหว่างละติจูดประมาณ 36 องศาเหนือ ถึง 71 องศาเหนือ และลองจิจูดประมาณ 9 องศาตะวันตก ถึง ลองจิจูดประมาณ 66 องศาตะวันออก กล่าวคือ ทวีปยุโรป มีพื้นที่ทั้งหมดอยู่เหนือเส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์ (ละติจูดที่ 23 ½ องศาเหนือ) ซึ่งอยู่ในเขตอากาศอบอุ่นเหนือเกือบทั้งหมดยกเว้นตอนเหนือสุดของทวีปเท่านั้นที่อยู่ในเขตอากาศหนาวเหนือ

ขนาด

            ทวีปยุโรป มีพื้นที่ประมาณ 10 ล้านตารางกิโลเมตร มีขนาดใหญ่เป็นลำดับที่ 6 ของโลก รองจากทวีปเอเชีย แอฟริกา อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ แอนตาร์กติกา แต่ใหญ่กว่าออสเตรเลีย

อาณาเขตติดต่อ มีดังนี้

            ทิศเหนือ ติดต่อกับมหาสมุทรอาร์กติก และมีทะลต่าง ๆ ได้แก่ ทะเลขาว ทะเลแบเรนต์ส น่านน้ำเหล่านี้มีความสำคัญทางเศรษฐกิจน้อย มาก เพราะในฤดูหนาวจะปกคลุมไปด้วยน้ำแข็ง ใช้เดินเรือไม่ได้ คาบสมุทรสำคัญด้านนี้ ได้แก่ คาบสมุทรสแกนดิเนเวีย คาบสมุทรจัตแลนด์

            ทิศตะวันออก ติดต่อเป็นผืนแผ่นดนเดียวกันกับทวีปเอเชีย โดยมีเทือกเขาอูราล แม่น้ำอูราล และทะเลสาบแคสเปียนเป็นแนวพรมแดน 

            ทิศตะวันตก ติดต่อกับมหาสมุทรแอตแลนติก มีทะเลต่าง ๆ ได้แก่ ทะเลนอร์วิเจียน ทะเลเหนือ ทะเลไอริช และทะเลบอลติก เกาะ สำคัญทางด้านนี้ ได้แก่ เกาะบริเตนใหญ่ เกาะไอร์แลนด์ และเกาะไอซ์แลนด์

            ทวีปยุโรปเป็นทวีปที่มีชายฝั่งทะเลที่ยาวที่สุดในโลก ทั้งนี้เพราะความเว้าแหว่งของชายฝั่งทะเลมีมากนั่นเอง 
            และยังทำให้มีคาบสมุทรหลายแห่ง ได้แก่ 
  1. คาบสมุทรสแกนดิเนเวีย ซึ่งเป็นที่ตั้งของประเทศนอร์เวย์และสวีเดิน คาบสมุทรจัดแลนด์เป็นที่ตั้งของประเทศเดนมาร์ก 
  2. คาบสมุทรไอบีเรียเป็นที่ตั้งของประเทศสเปนและโปรตุเกส 
  3. คาบสมุทรอิตาลี เป็นที่ตั้งของประเทศอิตาลี 
  4. คาบสมุทรบอลข่าน เป็นที่ตั้งของประเทศอดีตยูโกสลาเวีย แอลเบเนีย โรมาเนีย บัลแกเรีย แอลกรีซ (สาธารณรัฐเฮเลนิก) 
  5. คาบสมุทรไครเมียในประเทศยูเครน

ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ของทวีปยุโรป

            ทวีปยุโรปเป็นดินแดนที่เคยเป็นแหล่งอารยธรรมโบราณแห่งหนึ่ง ที่มีประวัติศาสตร์ความเจริญต่อเนื่องกันมาเป็นเวลากว่า 2000 ปี มาแล้ว
            มีหลักฐานปรากฎอย่างชัดเจนว่า ความเจริญของทวีปยุโรปทีราก ฐาน กำเนิดจากอารายธรรมไมโนน (Minoan Civilization) 
            ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่เกาะครีต(Crete)ตอนใต้ของคาบสมุทรบอลข่านในทะลเมดิเตอร์เรเนียน 
            อารยธรรมไมโนนเป็นอารยธรรม ที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างอารยธรรมโบราณ 2 แห่ง คือ 
            อารยธรรมอียิปต์ (ลุ่มแม่น้ำไนล์) 
            อารยธรรมเมโสโปเตเมีย (ลุ่มแม่น้ำไทกรีส-ยูเฟรติส) 
            จนมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง และต่อมาได้แผ่ขยายไปยังดินแดนต่างๆ ในบริเวณทะเลเมดิเตอร์เรเนียน 
            โดยเฉพาะคาบสมุทรบอลข่านและคาบสมุทรอิตาลี จึงนับว่าชนชาติกรีกและชนชาติโรมัน มีส่วนสำคัญที่สุดในการวางรากฐานความเจริญในยุโรป
            ชนชาติกรีกเป็นพวกอินโดยูโรเปียนมีถิ่นฐานเดิมอยู่แถบแม่น้ำดานูบ ในเขตประเทศออสเตรียในปัจจุบัน ได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ในบริเวณคาบสมุทรบอลข่าน เมื่อประมาณ 2000 ปี ก่อนคริสต์กาล 
            กรีกเป็นชนชาติแรกที่ได้รับถ่ายทอดความเจริญ ของอารยธรรมไมโนน ไปจากเกาะครีต 
            และหลังจากนั้นชนชาติโรมันซึ่งตั้งถิ่นฐานในบริเวณคาบสมุทรอิตาลี ก็ได้รับความเจริญไปจากชนชาติกรีกอีกทอดหนึ่ง 
            กรีกได้ทิ้งมรดกทางศิลปะวัฒนธรรมอันมีค่าหลายประการไว้แก่โลกตะวันตก เพราะกรีกเป็นนักคิดและนักสร้างสรรค์ ที่สำคัญ
            ผลงานที่เด่นๆ ได้แก่ สถาปัตยกรรม ประติมากรรม วรรณกรรม ปรัชญา 
            และที่สำคัญที่สุด คือ การปกครองระบอบประชาธิบไตย ที่นับว่าเป็นการวางรากฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตย แก่ประเทศต่างๆ ในปัจจุบัน 
            ส่วน ชนชาติโรมัน นั้น แม้ว่าจะรับความเจริญต่างๆ ทางศิลปวัฒนธรรมมาจากกรีก แต่ก็รู้จักที่จะนำมาประยุกต์ดัดแปลงให้เกิดประโยชน์ทางด้านการใช้สอยให้คุ้มค่า 
            โดยเฉพาะการวางผังเมืองการวางท่อลำเลียงน้ำ ที่อาบน้ำสาธารณะ ผลงานทางศิลปะต่าง ๆ ที่สำคัญที่สุดคือ กฎหมายโรมัน ซึ่งเป็นรากฐานของการร่างกฎหมายประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรป 
            โรมันเป็นชนชาติที่มีความสามารถกล้าหาญ ได้ขยายอำนาจครอบครองดินแดนกรีก และดินแดนของชนชาติอื่นๆ ในบริเวณใกล้เคียง 
            จนทำให้อาณาจักรโรมัน กลายเป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดมีอาณา เขต ครอบคลุมเกือบทั่วภาคพื้นทวีปยุโรป 
            โดยมีอาณาเขต ตั้งแต่ตะวันตกของทวีปยุโรป คาบสมุทรอิตาลี คาบสมุทรบอลข่าน ดินแดนชายฝั่งตะวันออก ของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ตลอดไปจนถึงบริเวณตอนเหนือของทวีปแอฟริกา 
            จักรวรรดิโรมัน เป็นศูนย์กลางความเจริญ ของทวีปยุโรปอยู่ประมาณ 300 ปี ภายหลังที่มีการแบ่งแยกจักรวรรดิออกเป็น
            จักรวรรดิโรมันตะวันตก โดยมีเมืองหลวงอยู่ทีกรุงโรม
            และจักรวรรดิโรมันตะวันออก มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล ในคริสต์ศตวรรษที่ 4 แล้ว 

            จักรวรรดิโรมันตะวันตกได้เริ่มเสื่อมลงตามลำดับ และในที่สุดได้ถูกพวกอนารยชนเยอรมัน เผ่าติวตันเข้ารุกรานและยึดครองใน ค.ศ.476 
            ซึ่งมีผลทำให้ความเจริญต่าง ๆ ทางศิลปวัฒนธรรมหยุดชะงักลง สภาพทางสังคมของจักรวรรดิโรมันตะวันตก ภายหลังการุกรานของอนารยชน เต็มไปด้วยความวุ่นวาย สับสน 
            บ้านเมืองระส่ำระสายไปทั่ว มีศึกสงครามติดต่อกันเกือบตลอดเวลา จนเป็นเหตุให้ ความก้าวหน้าทางศิลปวิทยาการของกรีก-โรมัน ต้องหยุดชะงักลง 
            และทำให้ทวีปยุโรปตกอยู่ในสภาวะที่เรียกว่า ยุคมืด Dark Ages ซึ่งอยู่ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 5-10 
            ในระหว่างนั้นคริสต์ศาสนาได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของชาวยุโรป 
            เพราะเป็นระยะเวลาที่ประชาชน กำลังแสวงหาที่พึ่งทางใจ วัดและสันตะปาปา คือศูนย์รวมแห่งจิตใจของประชาชน คริสต์ศาสนาจึงขยายตัวอย่างรวดเร็วในระยะนั้น
            อิทธิพลทั้งด้านการปกครอง เศรษฐกิจ และสังคม รวมทั้งศิลปวัฒนธรรมต่างๆ ชาวตะวันตกต่างพากันยอมรับ ในความยิ่งใหญ่ ่และอำนาจของพระเจ้า ในการดลบันดาลทุกสิ่งทุกอย่างให้เกิดขึ้น 
            จนทำให้เกิดความกลัวที่จะคิดหรือกระทำการใดๆ ที่นอกเหนือไปจากกฎเกณฑ์ที่ทางศาสนาได้กำหนดไว้
            อย่างไรก็ตามในระยะคริสต์ศตวรรษที่ 14-16 ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญที่ส่งผลกระทบต่อความเปลี่ยนแปลงสภาพทางสังคมของยุโรป ไปในทางที่ดี คือ การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ หรือ เรอเนสซองส์ Renaissance 
            ซึ่งทำให้มีการฟื้นฟูศิลปวิทยาการกรีก-โรมัน ที่หยุดชะงักไปตั้งแต่ยุคมืดขึ้นมาใหม่ 
            และยังส่งผลต่อเนื่องไปสู่การริเริ่มแนวคิด เริ่มมองทุกอย่างในลักษณะของเหตุผล รู้จักใช้สติปัญญาตน พิจารณาแทนความเชื่องมงายอย่างไร้เหตุผล ดังที่เคยปฏิบัติมาในยุคมืด 
            เริ่มมีความคิดว่ามนุษย์สามารถที่จะพัฒนาตนเองได้ สามารถปรับปรุง ทุกอย่างให้ดีขึ้นได้ด้วยความสามารถตนเอง
            สมัยเรอเนสซองส์จึงเป็นสมัยที่ก้าวไปสู่ความเจริญอย่างไม่หยุดยั้งของโลกตะวันตกในระยะต่อมา 
            ซึ่งขณะนั้นศูนย์กลางความเจริญของทวีปยุโรป ได้ย้ายมาอยู่ ในบริเวณประเทศต่างๆ ที่ก่อตั้งขึ้นในบริเวณยุโรปตะวันตก เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส โปรตุเกส สเปน เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี เป็นต้น 
            นับตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา ทวีปยุโรปจึงก้าวเข้าสู่สภาพสังคมแบบสมัยใหม่ ที่สะท้อนให้เห็นการพัฒนา ในด้านความคิดริเริ่มสร้าง สรรค์ และความเป็นตัวของตัวเองของมนุษย์ 
            อันนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชาวยุโรป เป็นอย่างมาก อาทิ การปฏิวัติศาสนาที่เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 16 
            โดยนักบวชชาวเยอรมนี มาร์ติน ลูเธอร์ Martin Luthur ค.ศ.1483-1546 ทำให้มีการก่อตั้งนิกายโปรเตสแตนท์ ซึ่งแสดงให้เห็นความกล้าหาญ ในการแสดงออก
            ซึ่งการต่อต้านคัดค้านนิกายดั้งเดิม คือ โรมันคาทอลิก ที่เคยมีอิทธิพลอย่างมากมาก่อน 
            นอกจากนี้ การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ ในคริสต์ศตวรรษที่ 16-17 มีผลทำให้มนุษย์เริ่มค้นคว้าหาความจริงจากธรรมชาติ 
            มีการพิสูจน์ว่าโลกกลม ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของสุริยจักรวาล ซึ่งมีผลต่อการริเริ่มสำรวจทางทะเล และการแสวงหาอาณานิคมกันอย่างกว้างขวางในคริสต์ศตวรรษที่ 16-17 
            และทำให้วัฒนธรรมตะวันตกได้แผ่ขยายไปยังดินแดนอาณานิคมต่างๆ ทั้งในทวีปเอเชีย ทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปอเมริกาใต้ 
            รวมทั้งออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า เป็นระยะที่อิทธิพลของยุโรป ทางด้านศิลปวัฒนธรรมได้แผ่ขยายตัวไปทั่วโลก

            การปฏิวัติอุตสาหกรรม ที่เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 18 โดยเริ่มต้นจากประเทศอังกฤษก่อน และต่อมาได้แผ่ขยายไปยังประเทศต่างๆ ในยุโรปตะวันตก 
            ก็นับว่าเป็นผลมาจากการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ ที่นำไปสู่ความก้าวหน้า ทางด้านเทคโนโลยีอย่างไม่หยุดยั้ง 
            และส่งผลกระทบทำให้ทวีปยุโรปเป็นดินแดนที่นำหน้าทวีปอื่นๆ ทั้งทางด้านอุตสาหกรรม และเทคโนโลยีมาจนถึงปัจจุบัน